ตามศัพท์ภาษาไทยแล้ว 'ขวัญและกำลังใจ' สามารถแยกได้ 2 คำ คือ 'ขวัญ' และ 'กำลังใจ' มีความหมายดังนี้
' ขวัญ' หมายถึง สิ่งที่ไม่มีตัวตน นิยมกันว่ามีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมา
เชื่อกันว่าถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบาย จิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ
ขวัญออกจากร่างไปเสีย ซึ่งเรียกว่าขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น
' กำลังใจ' หมายถึง สภาพของจิตใจที่มีความเชื่อมั่น และกระตือรือร้น พร้อมจะ
เผชิญกับเหตุการณ์ทุกอย่าง
'ขวัญและกำลังใจในการทำงาน' คือ สภาพทางจิตใจของผู้ปฏิบัติงาน เช่นความรู้สึก
นึกคิดที่ได้รับอิทธิพล แรงกดดัน หรือสิ่งเร้าจากปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมในองค์การที่อยู่
รอบตัวเขา และจะมีปฏิกิริยาโต้กลับ คือพฤติกรรมในการทำงาน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อผลงานของบุคคลนั้น
ขวัญและกำลังใจเป็นอย่างไร
ขวัญและกำลังใจ เป็นสภาพทางจิตใจ ทัศนคติ และความรู้สึกที่มีผลส่วนหนึ่งมาจาก
การปฏิบัติงานร่วมกับกลุ่มโดยอาจเกิดร่วมกันเป็นกลุ่มในแต่ละบุคคลได้
ขวัญและกำลังใจ อยู่ที่สภาพจิตใจ ทัศนคติ อารมณ์ ของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคน รวมทั้งทีมงานทั้งหมด
ขวัญและกำลังใจ มีผลกระทบต่องาน ผลผลิต ความร่วมมือ ความกระตือรือร้น วินัย และความสำเร็จของหน่วยงาน
ขวัญและกำลังใจ มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับหัวหน้างาน ผู้บังคับบัญชา ลูกน้อง รวมไปถึงผู้มารับบริการและชุมชน
ขวัญและกำลังใจ มีผลต่อความมุ่งมั่นและความเต็มใจในการทำงานเพื่อพัฒนางาน
และหน่วยงานของตนเอง
แม้ว่าขวัญและกำลังใจเป็นสิ่งที่มองไม่เห็นและวัดได้ยากแต่เราก็สามารถรู้สึกและ
สังเกตได้ นอกจากนั้น ขวัญและกำลังใจยังเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารควรรับรู้ เพราะขวัญและ
กำลังใจเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวได้
ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจ
การยกระดับขวัญและกำลังใจทำได้โดยการควบคุม ดูแล ให้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
ขวัญและกำลังใจอยู่ในสภาพที่ดีมีปัจจัยภายนอกหลายประการที่ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจ
ดังนั้น ผู้บริหารควรตระหนักและพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องภายในหน่วยงานของ
ตนเอง รวมทั้งหาทางปรับปรุงแก้ไขสิ่งต่าง ๆ ที่คิดว่าเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานเพื่อให้
ขวัญและกำลังใจของผู้ใต้บังคับบัญชาสูงขึ้น
จากการปฏิบัติงานประจำกัน ถ้าเราใส่ใจและลองสังเกตสภาพการณ์ทั่ว ๆ ไป ภายใน
หน่วยงานของตนเอง เราจะพบอาการที่สามารถบ่งชี้ถึงสภาพขวัญและกำลังใจที่ตกต่ำหรือ
สูงได้
ถ้าหน่วยงานของท่านมีสภาพ ดังนี้
- การโต้เถียงกันอย่างรุนแรงเอาเป็นเอาตายระหว่างประชุม
- การทำงานไม่มีคุณภาพ
- การปฏิเสธงานที่ได้รับมอบหมาย
- การขัดคำสั่ง ไม่เชื่อฟังหัวหน้างาน
- การขาดงานบ่อย ๆ
- สภาพเต็มไปด้วยข่าวลือ
- มีการกลั่นแกล้งกันในเรื่องงาน
- งานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ฯลฯ
คือ อาการของ 'หน่วยงานที่ขวัญและกำลังใจตกต่ำ'
ถ้าหน่วยงานของท่านมีสภาพ ดังนี้
- ความขัดแย้งภายในมีน้อย
- มีความไว้วางใจซึ่งกันและกันสูง
- สามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
- กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ชัดเจน
- กำหนดบทบาทและความรับผิดชอบชัดเจน
- มีการสื่อสารและระบบการสั่งงานที่ดี
- ยอมรับในผู้นำ
- การจัดทรัพยากรที่เป็นธรรม
ฯลฯ
คือ อาการของ 'หน่วยงานที่ขวัญและกำลังใจดี'
เพื่อให้ง่ายในการสังเกต เราสามารถตรวจสอบสภาพขวัญและกำลังใจของคนในหน่วย
งานได้จากการพิจารณาสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้
- นโยบายและเป้าหมายของหน่วยงาน
- ภาพพจน์ของหน่วยงาน
- การสื่อสารจากผู้บังคับบัญชาถึงผู้ใต้บังคับบัญชา
- การสื่อสารจากผู้ใต้บังคับบัญชาถึงผู้บังคับบัญชา
- ความสัมพันธ์ของบุคลากรภายในหน่วยงาน
- ระดับความพอใจในงาน
- วินัยของผู้ปฏิบัติงาน
- บรรยากาศในการทำงาน
- โอกาสในการศึกษา พัฒนาและฝึกอบรม
- สิ่งอำนวยความสะดวกในการทำงาน
- ค่าจ้างและเงินเดือน
- ความสะอาดและสุขลักษณะของสถานที่ทำงาน
- ความปลอดภัยในการทำงาน
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มย่อย
- ความภักดีต่อหน่วยงาน
- สิ่งอำนวยความสะดวกทั่ว ๆ ไป
เมื่อพบจุดตรวจใดเป็นจุดบกพร่อง เราต้องการหาทางปรับปรุงจุดต่าง ๆ เหล่านั้น เพื่อยกระดับขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงานให้สูงขึ้น ในยุคของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และ
การสื่อสารไร้พรมแดน สิ่งที่ทำให้การดำเนินงานของหน่วยงานมีประสิทธิภาพและประ
สิทธิผลแตกต่างกันกับหน่วยงานอื่น ๆ คือ 'คน' ซึ่งกิจกรรมที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนา
หน่วยงาน เช่น กิจกรรม 5 ส กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพื่อ
- พัฒนาให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานที่สูงขึ้น
- เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงงาน
- ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต
- พัฒนาให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- รู้จักทำงานเป็นทีม เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและปรับปรุงงาน
- รู้จักใช้ความคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล
- สร้างเสริมวินัย
- เพิ่มความสามัคคี
ฯลฯ
นอกจากจะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมแล้ว ยังเน้นให้ทุกคนรู้จักปรับปรุงงาน
ของตนเองเป็นหลัก เพราะผู้ปฏิบัติย่อมรู้ดีว่าปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานเป็น
อย่างไร โดยเริ่มจากการสังเกตสภาพแวดล้อมในการทำงานรอบ ๆ ตัวของเราก่อน
ลองสังเกตสถานที่ทำงานว่ามีสภาพเช่นนี้หรือไม่
- ห้องที่เต็มไปด้วยโต๊ะทำงาน
- มีเสียงโทรศัพท์ดังตลอดเวลา
- แสงสว่างไม่เพียงพอ
- มีเครื่องถ่ายเอกสาร แต่ใช้งานไม่ได้หรือได้ไม่ดี
- อุปกรณ์เครื่องใช้ใหม่ แต่ไว้ใจไม่ได้พร้อมที่จะเสียตลอดเวลา
- เครื่องปรับอากาศที่เย็นเกินไป ร้อนเกินไป
- ทางเดินที่คับแคบ มีสิ่งของวางกีดขวาง
- มีเสียงดัง รบกวนการทำงานเป็นระยะ
- สิ่งอำนวยความสะดวกไม่ดีพอ เช่น ห้องน้ำสกปรก โรงอาหารไม่ถูก
สุขลักษณะ ฯลฯ
- มีวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอ
- การระบายอากาศที่ไม่ดีพอ
ฯลฯ
คุณคิดอย่างไรกับสภาพที่ทำงานข้างต้น?
- เรื่องอย่างนี้พบเห็นในที่ทำงานจนกลายเป็นเรื่องปกติแล้ว
- อยู่ไปก็ชินเอง
- เราต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งเหล่านี้ให้ได้
- เบื่อ!...แต่ก็ทำอะไรไม่ได้
- ควรจะปรับปรุงให้สถานที่ทำงานมีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ทำงานได้สะดวกขึ้น
- ถ้าทุกคนในหน่วยงานร่วมมือกันก็จะสามารถแก้ไขได้
ในการทำงานหนึ่ง ๆ นั้น งานจะออกมามีคุณภาพหรือไม่ เสร็จทันเวลาหรือได้รับ
ความร่วมมือจากผู้ร่วมงานหรือไม่ ฯลฯ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในการทำงาน
เพราะสภาพแวดล้อมในการทำงานจะส่งผลต่อความคิด ความรู้สึก อารมณ์ของผู้ปฏิบัติงาน
ซึ่งก็หมายถึงขวัญและกำลังใจในการทำงานด้วย ด้วยเหตุที่บรรยากาศในสถานที่ทำงาน
ความสัมพันธ์ที่ดีของกลุ่มทำงาน สนุกกับการทำงานร่วมกันเป็นทีม เห็นประโยชน์ รับฟัง
ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ช่วยกันแก้ไขปัญหาในงาน พฤติกรรมที่แสดงออกทางสีหน้า
และท่าทาง สิ่งเหล่านี้ถ้าทุกคนร่วมมือร่วมใจกันก็จะมีผลให้สถานที่ทำงานน่าทำงานและ
สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น สะดวกสบายขึ้น ปัญหาที่เคยมี เราก็จะมีส่วนในการแก้ไขปัญหา
เราก็จะรู้สึกมั่นใจ ภาคภูมิใจ ได้รับการยอมรับ ฯลฯ ผลก็คือ ขวัญและกำลังใจในการ
ทำงานที่สูงขึ้นนั่นเอง
คำบันดาลใจ
หัวหน้าที่เอาแต่ด่าลูกน้อง
โดยไม่ยอมชี้ให้เห็นว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องอย่างไร
ย่อมไม่ใช่หัวหน้าที่ดี
แต่พูดให้ถึงที่สุดแล้ว ควรต้องบอกว่า
ความผิดซ้ำๆ บางอย่างเป็นเรื่องง่ายที่จะแก้ไข
คนที่ทำผิดแล้วเปลี่ยนเป็นถูก
คนที่ไม่ทำความผิดซ้ำ
คือ คนที่สามารถจะพัฒนาตนเองให้ก้าวไปได้
เร็วก็หาว่าล้ำหน้า
ช้าก็หาว่าอืดอาด
โง่ก็ถูกตวาด
พอฉลาดก็ถูกระแวง
ทำก่อนบอกไม่ได้สั่ง
ทำทีหลังบอกไม่รู้จักคิด
หัวหน้าที่เอาแต่ด่าลูกน้อง
ตอบลบโดยไม่ยอมชี้ให้เห็นว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องอย่างไร
เป็นหัวหน้าที่แย่มาก