Social Icons

twitterfacebookgoogle pluslinkedinrss feedemail

12/9/52

สบท.เตือน ระวังมือถือยุคใหม่ จ่ายค่าเน็ตไม่รู้ตัว

สบท.เตือน ระวังมือถือยุคใหม่ จ่ายค่าเน็ตไม่รู้ตัว

สบ ท.เตือนผู้บริโภค ระวังมือถือยุคใหม่ จ่ายค่าเน็ตไม่รู้ตัว หลังเรื่องร้องเรียนปัญหาค่าบริการ GPRS ชักถี่ ระบุ ก่อนเลือกมือถือต้องเข้าใจระบบการใช้งาน เลือกใช้โปรโมชั่นที่เหมาะสม และอย่าใช้เกินเวลาเหมาจ่าย
นายประวิทย์   ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (ผอ.สบท.) ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ได้พัฒนาศักยภาพจนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เลย สร้างความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการมากขึ้น แต่มีประเด็นที่ สบท.อยากเตือนผู้บริโภค เพราะจากข้อมูลของหน่วยบริการประชาชน สบท. พบว่า ระยะหลังเริ่มมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการคิดค่าบริการจากการใช้บริการ GPRS หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเพิ่มมากขึ้น   เช่น ผู้บริโภคใช้บริการ GPRS เกินวงเงินเหมาจ่ายโดยไม่รู้ตัว แล้วถูกเรียกเก็บค่าบริการย้อนหลัง  หรือซื้อเครื่องโทรศัพท์มือถือมาแล้วไม่ทราบว่า เครื่องเป็นระบบเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง ซึ่งสำหรับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่ใช้ 3G ได้ หลายรุ่นจะเปิดGPRS มาให้โดยอัตโนมัติ เนื่องจากเป็นระบบที่ตอบสนองพฤติกรรมของชาวต่างชาติที่ ใช้ดูความเคลื่อนไหวของอีเมลล์ได้ตลอดเวลา พอนำเข้ามาขายที่ประเทศไทย ผู้บริโภคหลายคนก็อ่วมกับค่าบริการ เพราะไม่ทราบ และไม่รู้ด้วยว่าปิดบริการไม่ได้ ยกเว้นจะปิดเครื่องไปเลย
"ผู้บริโภคอาจไม่เข้าใจเรื่องการคิดค่าบริการ GPRS อย่างถ่องแท้ ซึ่งปกติจะมีสองระบบ แบบหนึ่งคือคิดเป็นเวลา เช่น นาทีหรือชั่วโมงละ...บาท อีกแบบคือ คิดเป็นจำนวนข้อมูลที่รับส่ง เช่น คิด 12 สตางค์ต่อ 1 Kb ในการเลือกใช้ ผู้บริโภคอาจพิจารณาจากพฤติกรรมการใช้ของตนเอง เช่น ผู้บริโภครายหนึ่งคิดว่าตัวเองใช้ GPRS ไม่มาก จึงเลือกจ่ายแบบ 12 สตางค์ต่อ 1 Kb ผลปรากฏว่า ผ่านไปเดือนเดียวถูกเรียกเก็บ 16,000 บาท เพราะเข้าไปดึงข้อมูลจากเว็บที่ใหญ่ หรือตัวอย่างอีกรายหนึ่ง ใช้ระบบเหมาจ่ายเดือนละ 40 ชั่วโมง ปรากฏว่า ส่วนที่เกิน 40 ชั่วโมงก็โดนไปหลายพัน เพราะไม่ใช่ว่าใช้ครบ 40 ชั่วโมงแล้ว เขาจะตัดอัตโนมัติ ดังนั้นผู้บริโภคต้องตรวจสอบทั้งเรื่องเวลาการใช้งานและปริมาณข้อมูลให้ดี ไม่เช่นนั้นต้องจ่ายส่วนที่เกินจนแทบไม่เหลือเงินกินข้าว" ผอ.สบท.กล่าว
 
นายประวิทย์กล่าวอีกว่า จากสภาพปัญหาที่พบ จึงอยากเตือนผู้บริโภคว่า ในการเลือกใช้โทรศัพท์มือถือ ผู้บริโภคต้องทราบว่า โทรศัพท์มือถือที่เราสนใจใช้ทำอะไรได้บ้าง เหมาะกับการใช้งานของเราหรือไม่ ถ้าไม่ต้องออนไลน์ตลอดเวลาก็ไม่ควรซื้อรุ่นที่ถูกตั้งมาให้ออนไลน์ตลอด เพราะไม่สามารถปิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ แต่หากเลือกใช้แล้วก็ต้อง เลือกโปรโมชั่นที่เหมาะสม
ข่าวจากประชาไท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณที่ติดตามครับ

$value) { if (strpos($param, 'color_') === 0) { google_append_color($google_ad_url, $param); } else if (strpos($param, 'url') === 0) { $google_scheme = ($GLOBALS['google']['https'] == 'on') ? 'https://' : 'http://'; google_append_url($google_ad_url, $param, $google_scheme . $GLOBALS['google'][$param]); } else { google_append_globals($google_ad_url, $param); } } return $google_ad_url; } $google_ad_handle = @fopen(google_get_ad_url(), 'r'); if ($google_ad_handle) { while (!feof($google_ad_handle)) { echo fread($google_ad_handle, 8192); } fclose($google_ad_handle); } ?>

Total Pageviews